|
คัดลอกมาจาก http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000080759
1.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องหมายดอลล่าร์ เครื่องหมายดอลล่าร์นั้นเป็นสิ่งที่ร้านอาหารควบหลีกเลี่ยงที่จะเขียนลงไปในเมนู เพราะเหมือนเป็นเครื่องหมายที่เตือนให้ลูกค้ารู้ตัวว่าพวกเขาจะต้องจ่ายเงิน ซึ่งตามผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์แนล พบว่า แขกที่ได้รับเมนูที่ปราศจากเครื่องหมายดอลล่าร์นั้นจะมีการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นมากกว่าคนที่ได้รับเมนูที่มีเครื่องหมายดอลล่าร์อย่างมีนัยสำคัญ และแม้ว่าจะเปลี่ยนเป็นการเขียนตัวหนังสือ “สิบดอลล่าร์” แทนการเขียนเครื่องหมายดอลล่าร์ลงไป ลูกค้าก็มีการจ่ายเงินน้อยลง เพราะยังรู้สึกตัวว่าจะต้องจ่ายเงินอยู่นั่นเอง
2.ใช้กลเม็ดเกี่ยวกับตัวเลข ส่วนใหญ่ร้านอาหารจะตั้งราคาอาหารลงท้ายด้วยเลข 9 เช่น 9.99 ดอลล่าร์ ซึ่งลูกค้าอาจจะรู้สึกว่าอาหารไม่มีคุณภาพ แต่หากว่าลงท้ายด้วย .95 แทนที่จะเป็น .99 จะทำให้ลูกค้ารู้สึกดีขึ้น เพราะเหมือนกับร้านค้าเป็นมิตรกับพวกเขา นอกจากนี้ ร้านค้าส่วนใหญ่จะกำหนดราคาที่ไม่ต้องลงท้ายด้วยเศษสตางค์ ซึ่งจะทำให้เมนูของร้านดูสะอาดตา เข้าใจง่าย และตรงประเด็น
3.ใช้ภาษาในการบรรยาย ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนลพบว่า รายการอาหารที่มีการบรรยายคุณลักษณะของอาหารจานนั้นๆ ประกอบกับรูปภาพที่สวยงาม จะได้รับความนิยมจากลูกค้ามากกว่า
4.เชื่อมโยงอาหารเข้ากับครอบครัว การตั้งชื่ออาหารให้เชื่อมโยงกับครอบครัวนั้นมีส่วนช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้มากขึ้น ตัวอย่างชื่อครอบครัวที่ใช้ก็อย่างเช่น พ่อ แม่ ปูย่าตายาย ที่จะถูกตั้งชื่อในเมนูอาหาร เช่น คุกกี้โฮมเมดยี่ห้อ Grandma's warm หรือ สลัดมันฝรั่ง Aunt Margo's famous potato salad ชื่อเมนูอาหารเหล่านี้ลูกค้ามีแนวโน้มที่จะตัดสินใจซื้อมากขึ้น
5.ใช้คำที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์มารวมอยู่ในชื่ออาหาร ทำให้รู้สึกว่าดูน่าลิ้มลองมากขึ้น ตามที่มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้ทำการวิจัย มีการใช้ชื่อของชาติพันธุ์ หรือชื่อทางภูมิศาสตร์ อย่างเช่น อิตาลี มารวมอยู่ในชื่ออาหาร ก็จะทำให้คนมีความสนใจในคุณสมบัติของอาหารแต่ละจานมากขึ้น
6.คนจะให้ความสนใจในสิ่งที่ถูกเน้นให้เด่นชัด เช่นการทำชื่อเมนูเป็นตัวหนา ทำเป็นตัวอักษรให้มีสีที่ต่างจากเมนูอื่น หรือวางตำแหน่งคู่กับรูปภาพ คนจะให้ความสนใจเมนูนั้นๆ มากขึ้น แต่ร้านอาหารระดับหรู มักจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้กลยุทธ์นี้เพราะจะทำให้พวกเขาดูไม่มีรสนิยม
7.ใช้รายการอาหารที่มีราคาสูงดึงดูดลูกค้าไปยังรายการที่มีราคาถูกกว่า โดยลูกค้าอาจจะไม่ได้สนใจในสิ่งที่มีราคาสูง แต่เมื่อดูเมนูไปเรื่อยๆ จะพบสิ่งที่ราคาถูกกว่า และลูกค้าจะตัดสินใจเลือกมากขึ้น
8.ในหนึ่งเมนูมีสองขนาดให้เลือก ลูกค้าจะคิดว่าอาหารที่ขนาดเล็กกว่าจะมีราคาคุ้มค่ากว่า เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
9.มีการวิเคราะห์การอ่านของลูกค้า จากการศึกษาวิจัยของเกาหลี ลูกค้ามักจะสั่งอาหารรายการแรกที่เขาให้ความสนใจ ร้านอาหารจึงวางตำแหน่งรายการอาหารที่ทำกำไรมากที่สุดไว้มุมขวาด้านบน เพราะจุดนั้นเป็นจุดที่สายตาของคนอ่านให้ความสนใจเป็นจุดแรก ซึ่งกลยุทธ์นี้จะวางรายการอาหารที่มีราคาแพงไว้มุมขวาบน เพื่อที่ลูกค้าจะได้เห็นเป็นจุดแรก ต่อจากนั้นลูกค้าก็จะพิจารณาส่วนอื่นๆ ของเมนูเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน
10.จำกัดตัวเลือกให้ลูกค้า ร้านอาหารจะช่วยไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะต้องเลือกอาหารในแต่ละครั้ง โดยจะมีการจำกัดตัวเลือกรายการอาหารในแต่ละประเภท เช่น มีอาหารให้เลือก 6 รายการต่อประเภทในร้านอาหารฟาสต์ฟูด ส่วนร้านอาหารทั่วไป อาจจะมีให้เลือก 7-10 รายการต่อประเภท
11.มีการกำหนดอารมณ์ความรู้สึกในขณะที่ใช้จ่าย ซึ่งจากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ร้านอาหารที่มีการเปิดเพลงหรือเล่นดนตรีคลาสสิกจะกระตุ้นให้ผู้ที่มากินอาหารใช้จ่ายมากขึ้น เพราะมันทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองมีฐานะดีกว่า ในขณะที่เพลงป๊อบทำให้คนใช้จ่ายน้อยลงร้อยละ 10 ในมื้ออาหารของพวกเขา
............หวังว่าคงมีประโยชน์......
คัดลอกมาจาก http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9570000080759
|
|
|